อูนอูนเซปเทียม (ละติน: Ununseptium; IPA: /?ju?n?n?s?pti?m/) เป็นธาตุในกลุ่มโลหะหลังทรานซิชัน ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 117 และมีสัญลักษณ์ Uus อูนอูนเซปเทียมเป็นชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC และมีชื่อชั่วคราวอีกชื่อตามพยากรณ์ของดมีตรี เมนเดเลเยฟว่า "เอกา-แอสทาทีน" (eka-astatine) ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 2010 โดยนักวิทยาศาสตร์ในโครงการการร่วมมือระหว่างรัสเซีย-อเมริกาที่เมืองดุบนา ประเทศรัสเซีย ต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 IUPAC เสนอชื่อ เทนเนสซีน (tennessine; สัญลักษณ์ธาตุ Ts) เป็นชื่อทางการของธาตุนี้ ชื่อ "เทนเนสซีน" มาจากชื่อรัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปี 2004 ที่สถาบันร่วมวิจัยนิวเคลียร์ในเมืองดุบนา ประเทศรัสเซียได้มีการค้นคว้าเกี่ยวกับธาตุที่ 117 (หรือเรียกอีกอย่างว่า มี 117 โปรตอนในนิวเคลียส) โดยฟิวชั่นกับเป้าหมายคือเบอร์คีเลียม (ธาตุที่ 97) และลำแสงแคลเซียม (ธาตุที่ 20)
ทีมวิจัยในรัสเซียตั้งใจที่จะใช้ไอโซโทปของแคลเซียมคือ แคลเซียม-48 มี 20 โปรตอน 28 นิวตรอน เป็นไอโซโทปที่มีนิวเคลียสน้ำหนักเบาที่สุดและเสถียร หรือ ใกล้เสถียร อันดับสองคือ ซิงก์-68 ซึ่งหนักกว่าแคลเซียม-48 มาก ลำแสงแคลเซียม-48 ได้สร้างขึ้นที่รัสเซียโดยกระบวนการทางเคมี
ในปี 2550 ทีมวิจัยของสหรัฐอเมริกาได้กลับมาใช้เบอร์คีเลียมเป็นเป้าหมายอีกครั้งและทางทีมวิจัยรัสเซียก็ได้ติดต่อกับสหรัฐอเมริกาแล้ว การวิจัยครั้งนี้ทำให้เบอร์คีเลียมจำนวน 22 มิลลิกรัม พอที่จะดำเนินการทดลองได้ และ เบอร์คีเลียมได้ถูกส่งมาจากรัสเซียอย่างรวดเร็ว: ครึ่งชีวิตของไอโซโทปเบอร์คีเลียมที่ใช้(เบอร์คีเลียม-249)คือ 330 วัน และในฤดูร้อนปี 2551 มันก็ถูกส่งมาจากนิวยอร์กจนถึงมอสโกว
การวิจัยได้เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายนปี 2551 และ ในเดือนมกราคม ปี 2552, นักวิทยาศาสตร์ที่ Flerov Laboratory of Nuclear Reactions ได้เริ่มทำการยิงแคลเซียม-48 สู่ เบอร์คีเลียม-249 ในวันที่ 9 เมษายน ปี 2552 รายงานเกี่ยวกับการทดลองนี้ได้ระบุไว้ว่าประสบความสำเร็จ สามารถสร้างธาตุใหม่ขึ้นมา ดังสมการ
ก่อนที่จะผ่านการสังเคราะห์ของอูนอูนเซปเทียมนั้น การค้นพบไอโซโทปน้องสาวของอูนอูนเซปเทียมไม่มีเลย แต่หลังจากสังเคราะห์แล้วก็ค้นพบไอโซโทปน้องสาวแรก คือ อูนอูนเพนเทียม-289 หนึ่งในไอโซโทปน้องสาวของอูนอูนเซปเทียม และทาง JWP ได้จัดให้ธาตุนี้เป็นธาตุแทรนส์-โคเปอร์นิเซียม หรือ ธาตุหลังโคเปอร์นิเซียม
ถ้าใช้การทำนายชื่อธาตุของเมนเดเลเวฟ อูนอูนเซปเทียมจะเป็นธาตุที่มีชื่อว่า เอคา-แอสทาทีน หรือ ดีวิ-ไอโอดีน ในปี ค.ศ. 1979 IUPAC ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งชื่อธาตุและทำให้ธาตุนี้มีชื่อว่า "อูนอูนเซปเทียม" (สัญลักษณ์ธาตุ Uus) ต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 IUPAC เสนอชื่อ "เทนเนสซีน" (tennessine; สัญลักษณ์ธาตุ Ts) เป็นชื่อทางการของธาตุนี้ ชื่อ "เทนเนสซีน" มาจากชื่อรัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา
แน่ชัดว่าสมบัติทางเคมี เช่น ความยาวพันธะเคมี ฯลฯ ถูกพยากรณ์ว่าต่างจากแนวโน้มตามธาตุในคาบเดียว เพราะตำแหน่งตามหมู่ตรงกับแฮโลเจน อย่างไรก็ตาม อูนอูนเซปเทียมอาจแสดงสมบัติของธาตุกึ่งโลหะน้อยกว่า